ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก สโมสรยุโรปรายการใหม่ป้ายแดง
ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก ในแต่ละฤดูกาล วงการฟุตบอลมักจะมีอะไรใหม่ๆ ให้แฟนบอลได้ติดตามกันเสมอ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของนักเตะ กฏกติกา หรือแม้กระทั่งศึกลูกหนังรายการใหม่ ซึ่งในซีซั่น 2021/22 มีทัวร์นาเมนต์ป้ายแดงของยุโรป อุบัติขึ้นมาอีกหนึ่งรายการ นั่นคือฟุตบอล ยูฟ่า ยูโรป้า คอนเฟอเรนซ์ลีก
ยูฟ่ายูโรปาลีก (อังกฤษ: UEFA Europa League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลประจำปีระหว่างสโมสรฟุตบอลจากประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป จัดโดยสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรปหรือยูฟ่าตั้งแต่ ค.ศ. 1971 สโมสรฟุตบอลมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันในรายการนี้ จากผลงานของพวกเขาในลีกระดับประเทศและการแข่งขันฟุตบอลถ้วยในประเทศ รายการนี้เป็นการแข่งขันระดับที่สอง รองจาก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
แต่เดิม การแข่งขันนี้เรียกว่า ยูฟ่าคัพ (อังกฤษ: UEFA Cup) โดยมีรูปแบบการแข่งขันเป็นแบบแพ้คัดออก ต่อมาในปี ค.ศ. 1999 การแข่งขัน ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ ถูกยกเลิกและได้รวมเข้ากับยูฟ่าคัพ ในปี ค.ศ. 2004 มีการเพิ่มรอบแบ่งกลุ่ม ก่อนจะเข้าสู่รอบแพ้คัดออกในฤดูกาล 2004–05 ยูฟ่าคัพ เปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก
ตั้งแต่ ฤดูกาล 2009–10หลังมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการแข่งขัน โดยได้รวมการแข่งขัน ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ ทำให้ ยูฟ่ายูโรปาลีก มีรูปแบบการแข่งขันที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยมีกลุ่มในรอบแบ่งกลุ่มที่มากขึ้นและการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์ในการผ่านเข้ารอบ ผู้ชนะเลิศ ยูฟ่ายูโรปาลีก สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าซูเปอร์คัพ และตั้งแต่ฤดูกาล 2014–15 สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการ ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีกรอบแบ่งกลุ่มในฤดูกาลถัดไป
ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก การแข่งขันขนาดใหญ่
สโมสรจากสเปนเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด (12 สมัย) ตามมาด้วยสโมสรจากอังกฤษและอิตาลี (ประเทศละ 9 สมัย) มีสโมสรชนะเลิศรายการนี้ 28 สโมสร โดยมี 13 สโมสรชนะเลิศมากกว่าหนึ่งสมัย สโมสรที่ประสบความสำเร็จที่สุดคือ เซบิยา โดยชนะเลิศ 6 สมัย
ในฤดูกาลล่าสุด (2021-22) สโมสรที่ชนะเลิศ คือ ไอน์ทรัคท์ฟรังค์ฟวร์ท ซึ่งคว้าแชมป์รายการนี้เป็นสมัยที่สอง โดยเอาชนะเรนเจอส์ ในการดวลจุดโทษหลังจากช่วงต่อเวลาพิเศษของนัดชิงชนะเลิศ ก่อนหน้าการแข่งขันยูฟ่าคัพ มีการแข่งขันชื่อว่า อินเตอร์-ซิตีส์แฟส์คัพ (อังกฤษ: Inter-Cities Fairs Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสรในยุโรป
โดยแข่งขันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1955 ถึง 1971 การแข่งขันครั้งแรก (1955–58) นั้นมีสโมสรเข้าร่วม 11 สโมสร จนการแข่งขันครั้งสุดท้าย (1970–71) มีสโมสรเข้าร่วม 64 สโมสร การแข่งขันกลายสิ่งที่สำคัญมากในวงการฟุตบอลยุโรป จนในที่สุด ยูฟ่า ได้เข้ามาควบคุมดูแลและเปิดการแข่งขันใหม่ในชื่อ ยูฟ่าคัพ ในฤดูกาลถัดมา
ยูฟ่าคัพแข่งขันครั้งแรกในฤดูกาล 1971–72 โดยนัดชิงชนะเลิศ เป็นการพบกันระหว่างสองสโมสรจากอังกฤษ วุลเวอร์แฮมป์ตันวอนเดอเรอส์ กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ โดยสเปอร์เป็นผู้ชนะเลิศ ลิเวอร์พูล เป็นอีกหนึ่งสโมสรจากอังกฤษที่ชนะเลิศยูฟ่าคัพในปี ค.ศ. 1973 หลังเอาชนะ โบรุสซีอาเมินเชินกลัทบัค ในนัดชิงชนะเลิศ กลัทบัค ชนะเลิศรายการนี้
ในปี ค.ศ. 1975 และ 1979 และเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี ค.ศ. 1980 ไฟเยอโนร์ด ชนะเลิศยูฟ่าคัพในปี ค.ศ. 1974 หลังเอาชนะ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ด้วยผลประตูรวม 4–2 (2–2 ในลอนดอน, 2–0 ในรอตเทอร์ดาม) ลิเวอร์พูล ชนะรายการนี้เป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 1976 หลังเอาชนะ กลึบบรึค ในนัดชิงชนะเลิศ
ในทศวรรษ 1980 อีเอฟโค เยอเตอบอร์ (1982 และ 1987) และ ศึกสโมสรฟุตบอลเรอัลมาดริด (1985 และ 1986) ชนะเลิศรายการนี้สโมสรละสองครั้ง อันเดอร์เลคต์ เข้าสู่นัดชิงชนะเลิศสองปีติดต่อกัน โดยชนะเลิศในปี ค.ศ. 1983 และ แพ้ให้กับ ทอตนัมฮอตสเปอร์ ในปี ค.ศ. 1984 ต่อมาในปี ค.ศ. 1989 เริ่มมีสโมสรจากอิตาลีเข้ามาชนะเลิศในรายการนี้มากขึ้น หลัง นาโปลี ของ ดิเอโก มาราโดนา เอาชนะ ชตุทท์การ์ท
ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 มีนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีสองครั้ง และในปี ค.ศ. 1992 โตรีโน แพ้ อายักซ์ ในนัดชิงชนะเลิศ ด้วย กฎประตูทีมเยือน ยูเวนตุส ชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1993 และ อินแตร์มิลาน ชนะเลิศรายการนี้ในปีถัดมา
มาทำความรู้ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก ประวัติศาสตร์การแข่งขัน
ในปี ค.ศ. 1995 มีนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีเป็นครั้งที่สาม โดย ปาร์มา เป็นผู้ชนะเลิศรายการนี้ เพื่อพิสูจน์ความสม่ำเสมอของพวกเขา หลังชนะเลิศ ยูฟ่าคัพวินเนอร์สคัพ สองปีติดต่อกัน นัดชิงชนะเลิศนัดเดียวที่ไม่มีสโมสรจากอิตาลีคือในปี ค.ศ. 1996 อินแตร์มิลาน เข้าสู่นัดชิงชนะเลิศสองปีติดต่อกัน โดยแพ้ให้กับ ชัลเคอ 04
ในปี ค.ศ. 1997 ในการดวลจุดโทษ และชนะเลิศในนัดชิงชนะเลิศที่เป็นการพบกันเองของสโมสรจากอิตาลีเป็นครั้งที่สี่ ในปี ค.ศ. 1998 โดยเป็นการชนะเลิศสามครั้งของอินแตร์มิลานภายในแปดปี ปาร์มา ชนะเลิศในปี ค.ศ. 1999 เป็นการสิ้นสุดยุคที่อิตาลีครอบครองรายการนี้ และเป็นนัดชิงชนะเลิศสุดท้ายของ ยูฟ่าคัพ/ยูโรปาลีก ที่ไม่มีสโมสรจากอิตาลี จนกระทั่งอินแตร์มิลานเข้าสู่นัดชิงชนะเลิศ ในปี ค.ศ. 2020
ลิเวอร์พูลชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สามในปี ค.ศ. 2001 ไฟเยอโนร์ดชนะเลิศรายการนี้เป็นครั้งที่สองในปี ค.ศ. 2002 หลังเอาชนะ โบรุสซีอาดอร์ทมุนท์ ด้วยผลประตูรวม 3–2 ในสนามกีฬาของพวกเขาเอง (เดอเกยป์ ใน รอตเทอร์ดาม) โปร์ตู ชนะเลิศรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2003 และชนะเลิศอีกครั้งในปี
ค.ศ. 2011 หลังเอาชนะ บรากา สโมสรจากโปรตุเกสด้วยกันเอง ในปี ค.ศ. 2004 เริ่มเห็นสโมสรจากสเปนกลับมาชนะเลิศในรายการนี้อีกครั้ง เริ่มต้นด้วย บาเลนเซีย ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2004 และ เซบิยา ชนะเลิศติดต่อกันในปี ค.ศ. 2006 และ 2007 โดยในนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2007 เป็นการเอาชนะ อัสปัญญ็อล สโมสรจากสเปนด้วยกันเอง
นอกจากนี้ ยังมีสโมสรจากรัสเซียสองสโมสร ซีเอสเคเอ มอสโก ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2005 และ เซนิตเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2008 ชัคตาร์ดอแนตสก์ ชนะเลิศในปี ค.ศ. 2009 โดยเป็นอดีตสโมสรฟุตบอลจากโซเวียตและจากยูเครนปัจจุบันที่ชนะเลิศในรายการนี้
ตั้งแต่ฤดูกาล 2009–10 การแข่งขันยูฟ่าคัพ ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีกซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่ ยูฟ่าอินเตอร์โตโตคัพ การแข่งขันระดับที่สามของยูฟ่า ยกเลิกการแข่งขันและรวมเข้ากับยูโรปาลีกใหม่
อัตเลติโกเดมาดริด ชนะเลิศในรายการนี้สองครั้งในสามฤดูกาล ในปี ค.ศ. 2010 และ 2012 โดยในนัดชิงชนะเลิศในปี ค.ศ. 2012 เป็นการเอาชนะ อัตเลติกเดบิลบาโอ สโมสรจากสเปนด้วยกันเอง เชลซี ชนะเลิศในรายการนี้ครั้งแรกในปี ค.ศ. 2013 กลายเป็นสโมสรแรกที่ชนะเลิศแชมเปียนลีกแล้วชนะเลิศยูฟ่าคัพ/ยูโรปาในปีถัดมา
ในปี ค.ศ. 2014 เซบิยาชนะเลิศในรายการนี้เป็นครั้งที่สามในรอบแปดปี หลังเอาชนะ ไบฟีกา ในการดวลจุดโทษ เซบิยาชนะเลิศครั้งที่สี่ในปี ค.ศ. 2015, ครั้งที่ห้าในปี ค.ศ. 2016 หลังเอาชนะลิเวอร์พูลในนัดชิงชนะเลิศ และครั้งที่หกในปี ค.ศ. 2020 หลังเอาชนะอินแตร์มิลานในนัดชิงชนะเลิศ ทำให้เซบิยากลายเป็นทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในรายการนี้
ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก รูปแบบการแข่งขัน
การคัดเลือกเข้ามาแข่งขันในรายการนี้ ใช้การอ้างอิงจากค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จมากกว่าจะได้เข้าไปอยู่ในรอบที่ดีกว่า ในทางปฏิบัติ แต่ละสมาคมจะได้รับสิทธิ์ในการเข้ามาแข่งขันในรายการนี้จำนวนสามทีมเท่ากัน ยกเว้น: ประเทศที่อยู่ในอันดับที่ 51 ถึง 55 (ยิบรอลตาร์, ไอร์แลนด์เหนือ, คอซอวอ, อันดอร์ราและซานมารีโน ในฤดูกาล 2020–21) ได้รับสิทธิ์ในการเข้ามาแข่งขันในรายการนี้สมาคมละสองทีม
ลิกเตนสไตน์ ได้รับสิทธิ์ในการเข้ามาแข่งขันในรายการนี้ เฉพาะทีมที่ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยปกติแล้ว ทีมที่เข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก มักจะเป็นทีมรองชนะเลิศจากลีกสูงสุดในแต่ละประเทศและผู้ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลถ้วยหลัก โดยทั่วไปแล้วคือทีมที่อยู่ในอันดับสูงสุดที่ไม่มีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก
อย่างไรก็ตามในเบลเยียมลีกการเข้าไปแข่งขันในรายการนี้ ต้องเพลย์ออฟระหว่างทีมจากเฟิสต์ เอกับเฟิสต์ บี มีไม่กี่ประเทศที่มีการแข่งขันฟุตบอลถ้วยรอง แต่เฉพาะผู้ชนะเลิศฟุตบอลถ้วยรองของอังกฤษและของฝรั่งเศสเท่านั้นที่ได้รับสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในยูฟ่ายูโรปาลีก
การเข้ามาแข่งขันในรายการยุโรปสามารถเข้ามาได้มากกว่าหนึ่งเส้นทาง ในทุกกรณีถ้าสโมสรมีสิทธิ์เข้าไปแข่งขันในยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก แล้วจะไม่สามารถเข้าไปแข่งขันใน ยูฟ่ายูโรปาลีกได้
เพราะสิทธิ์ของแชมเปียนส์ลีกมีความสำคัญมากกว่า สิทธิ์ของยูฟ่ายูโรปาลีกจะมอบให้กับสโมสรอื่นหรือปล่อยว่าง หากเกินขีดจำกัดสูงสุดของทีมที่มีสามารถเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป ถ้าทีมที่ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป
จากการชนะเลิศฟุตบอลถ้วยและตำแหน่งในลีก สิทธิ์ “สำรอง” ของยูฟ่ายูโรปาลีกจะย้ายไปที่อันดับสูงสุดในลีก ที่ยังไม่ได้ผ่านเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรป ขึ้นอยู่กับกฎของสมาคมของแต่ละประเทศหรือปล่อยว่างหากถึงขีดจำกัดตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
สมาคมฟุตบอลสามอันดับแรกอาจจะได้รับสิทธิ์ที่สี่ หากผู้ชนะเลิศแชมเปียนส์ลีกและยูโรปาลีกมาจากสมาคมดังกล่าว และไม่สามารถเข้าไปแข่งขันในรายการยุโรปได้จากผลงานในประเทศ ในกรณีนี้ ทีมอันดับที่สี่ในสมาคมดังกล่าวจะเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีกแทนที่แชมเปียนส์ลีก เพิ่มเติมจากทีมอื่นที่ผ่านเข้ารอบ
ทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกและรอบแบ่งกลุ่มในแชมเปียนส์ลีก สามารถเข้าแข่งขันในยูโรปาลีก ในรอบต่าง ๆ (ดูด้านล่าง) ในอดีต ทีมที่ชนะเลิศยูโรปาลีก สามารถเข้ามาแข่งขันในยูโรปาลีกเพื่อป้องกันแชมป์ แต่ตั้งแต่ ค.ศ. 2015 ทีมที่ชนะเลิศยูโรปาลีก จะเข้าไปแข่งขันในแชมเปียนส์ลีก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995 ถึง 2015 สามลีกแรกที่มีคะแนน การจัดอันดับแฟร์เพลย์ของยูฟ่า สูงสุด จะได้รับหนึ่งสิทธิ์พิเศษเข้าไปแข่งขันในยูโรปาลีก
ศึกเพลย์ออฟ ยูโรปา ลีก ถ้วยรางวัล การเฉลิมฉลอง
ยูฟ่าคัพ หรือ รู้จักในชื่อ คูปยูฟ่า เป็นถ้วยรางวัลประจำปีโดยยูฟ่า ที่มอบให้กับสโมสรฟุตบอลที่ชนะเลิศในรายการยูฟ่ายูโรปาลีก ก่อนการแข่งขันในฤดูกาล 2009–10 การแข่งขันและถ้วยรางวัลมีชื่อว่า ‘ยูฟ่าคัพ’ เหมือนกัน
ก่อนการแข่งขันจะเปลี่ยนชื่อเป็น ยูฟ่ายูโรปาลีก ใน ฤดูกาล 2009–10 ข้อบังคับของยูฟ่าระบุว่า สโมสรสามารถเก็บถ้วยรางวัลไว้ได้หนึ่งปี ก่อนที่จะส่งคืนให้กับยูฟ่า หลังจากคืนถ้วยรางวัลแล้ว สโมสรสามารถเก็บแบบจำลองของถ้วยรางวัลที่มีขนาดสี่ในห้าไว้ได้ เมื่อสโมสรชนะเลิศติดต่อกันสามครั้งหรือชนะเลิศรวมกันห้าครั้ง สโมสรสามารถเก็บถ้วยรางวัลไว้ได้อย่างถาวร
อย่างไรก็ตาม ภายใต้กฎข้อบังคับใหม่ ถ้วยรางวัลยังคงอยู่ในการเก็บรักษาของยูฟ่าตลอดเวลา ถ้วยรางวัลจำลองขนาดเต็มจะมอบให้กับทุกสโมสรที่ชนะเลิศการแข่งขัน นอกจากนี้ สโมสรที่ชนะสามครั้งติดต่อกันหรือรวมกันห้าครั้ง จะได้รับตราที่บ่งบอกถึงจำนวนที่ชนะเลิศ
ในฤดูกาล 2016–17 เซบิยาเป็นสโมสรเดียวที่ใส่ตราที่บ่งบอกถึงจำนวนที่ชนะเลิศ หลังประสบความสำเร็จทั้งสองอย่างมาก่อนใน นัดชิงชนะเลิศ 2016 ถ้วยรางวัลออกแบบและสร้างโดย เบอร์โตนี สำหรับ ยูฟ่าคัพ นัดชิงชนะเลิศ 1972 มีลักษณะเป็นถ้วยทรงสูงสีเงินบนฐานหินอ่อนสีเหลืองมีความสูง 65 เซนติเมตร, กว้าง 33 เซนติเมตร, ลึกประมาณ 23 เซนติเมตรและมีน้ำหนัก 15 กิโลกรัม กับการแข่งขัน แทงบอลโลก