กระแสฟุตบอลโลก เกร็ดความรู้การแข่งขันกีฬาฟุตบอล ที่มีคนสนใจมากที่สุดในโลก

กระแสฟุตบอลโลก เกร็ดความรู้ประวัติการแข่งขันฟุตบอลโลก

กระแสฟุตบอลโลก การทำความรู้จักกับประวัติการแข่งขันฟุตบอลโลก ที่เป้นโด่ดดัง และถูกจาลึกว่าเป็นกีฬาที่น่าจดจำที่สุด และคนทั่วโลกให้การยอมรับ ฟุตบอลโลก หรือ ฟีฟ่าเวิร์ดคัพ (อังกฤษ: FIFA World Cup) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศโดยมีชุดทีมชาติชายร่วมเข้าแข่งในกลุ่มสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ (ฟีฟ่า)

การแข่งขันจัดขึ้นทุก ๆ 4 ปี โดยเริ่มมีการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1930 แต่ก็ได้มีการยกเว้นอยู่สองปี เนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งทีมที่ชนะเลิศการแข่งขันครั้งล่าสุดคือ ทีมชาติสเปน ชนะการแข่งขัน ฟุตบอลโลก 2010 และจะเข้ารักษาแช้มป์ในการแข่งขันฟุตบอลโลกที่จะจัดขึ้นครั้งต่อไปในประเทศบราซิล

สหพันธ์ฟุตบอลระหว่างประเทศ(ฟีฟ่า) ได้ทำการก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1904 และฟีฟ่าได้ทำการประกาศให้อุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก การแข่งขันฟุตบอลโลกระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1872 เป็นการแข่งขันระหว่างทีมชาติ สก๊อตแลนด์ กับ ทีมชาติอังกฤษ เกิดขึ้นที่ กลาสโกว์

และในการแข่งขัน ในปัจจุบัน การแข่งขันฟุตบอลโลก ครั้งที่ 22 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติของทุกชาติสมาชิกฟีฟ่าที่จะจัดขึ้นทุกสี่ปี โดยครั้งนี้จะขึ้นที่ประเทศกาตาร์ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน ถึง 18 ธันวาคม ค.ศ. 2022 นี่จะเป็นฟุตบอลโลกครั้งแรกที่จัดในโลกอาหรับ

การแข่งขันฟุตบอลโลกถือเป็นการแข่งขันกีฬาที่มีผู้ชมมากที่สุดในโลก มีผู้ชมราว 715.1 ล้านคนในการแข่งขันนัดชิงชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลโลก 2006 ที่จัดขึ้นที่ประเทศเยอรมนี ถือได้ว่ามีความนิยมกันอย่างต่อเนื่อง

กระแสฟุตบอลโลก 

กระแสฟุตบอลโลก  ของการแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อนจนถึงโด่งดัง

การแข่งขันฟุตบอลนานาชาติยุคก่อน นัดการแข่งขันฟุตบอลระหว่างประเทศเกิดขึ้นครั้งแรก ในการแข่งขันที่กลาสโกว์ ในปี ค.ศ. 1872 ระหว่างสก็อตแลนด์กับอังกฤษ และในการแข่งขันชิงชนะเลิศระหว่างประเทศครั้งแรกที่ชื่อ บริติชโฮมแชมเปียนชิป

ซึ่งเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1884 กีฬาฟุตบอลเติบโตในส่วนอื่นของโลกนอกเหนือจากอังกฤษในช่วงเปลี่ยนศตวรรษ มีการแนะนำกีฬาและแข่งขันประเภทนี้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1900 และ 1904 และที่กีฬาโอลิมปิกซ้อน 1906 จากการเริ่มไปสู่ความสำเร็จในการแข่งขันฟุตบอลในโอลิมปิก

ฟีฟ่าพร้อมด้วยประธานที่ชื่อ ชูล รีเม ได้ผลักดันอีกครั้งโดยเริ่มมองหาหนทางในการจัดการแข่งขันนอกเหนือการแข่งขันโอลิมปิก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ. 1928 ที่ประชุมฟีฟ่าในอัมสเตอร์ดัมตัดสินใจที่จะจัดการแข่งขันด้วยตัวเองกับอุรุกวัย ที่เป็นแชมเปียนโลกอย่างเป็นทางการ 2 ครั้ง และเพื่อเฉลิมฉลอง 1 ศตวรรษแห่งอิสรภาพของอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1930 ฟีฟ่าได้ประกาศว่าอุรุกวัยเป็นประเทศเจ้าภาพในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งแรก

ฟุตบอลโลกก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากที่เกิดการแข่งขันฟุตบอลโลกขึ้นแล้ว ในกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน 1932 ที่จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส ก็ไม่ได้รวมการแข่งขันฟุตบอลเข้าไปด้วย เนื่องจากความไม่ได้รับความนิยมในกีฬาฟุตบอลในสหรัฐอเมริกา ในขณะที่อเมริกันฟุตบอลได้รับความนิยมมากขึ้น ทางฟีฟ่าและคณะกรรมการโอลิมปิกสากล ที่มีความคิดเห็นต่างกันในเรื่องผู้เล่นในฐานะมือสมัครเล่น

ฟุตบอลโลก 1950 จัดขึ้นที่ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมการแข่งขัน ทีมสหราชอาณาจักรถอนตัวจากฟีฟ่าในปี ค.ศ. 1920 ที่ไม่พอใจในบางส่วนที่ต้องเล่นกับประเทศที่พวกเขาทำสงครามด้วย และบางส่วนเพื่อประท้วงด้านอิทธิพลและการบังคับจากต่างชาติ จากอดีตของวิวัฒนาการของการเติบโของการแข่งขันฟุตบอล สู่ความสำเร็จและความฝันของใครหลายๆคน ลูกฟุตบอลโลก 

การแข่งขันอื่นของฟีฟ่า ที่ไม่ได้มีแค่ฟุตบอล

ว่ากันว่าใคร การแข่งขันของฟีฟ่าที่เน้น แค่บอล แต่กลับไม่ได้มีแค่บอลยังมีการแข่งขันของฟุตบอลสำหรับผู้หญิง คือ ฟุตบอลโลกหญิง จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1991 ที่ประเทศจีน ฟุตบอลโลกหญิงจะมีการแข่งขันที่เล็กกว่าฟุตบอลของผู้ชาย แต่กำลังเติบโตอยู่เรื่อย ๆ มีทีมเข้าร่วมแข่งขันในปี ค.ศ. 2007 อยู่ 120 ทีม มากกว่า 2 เท่าของในปี ค.ศ. 1991

กีฬาฟุตบอลนั้นได้มีอยู่ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อนทุก ๆ ครั้ง ยกเว้นในปี ค.ศ. 1896 และ 1932 แตกต่างจากกีฬาประเภทอื่นซึ่งในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในโอลิมปิก ทีมที่ร่วมแข่งจะไม่ใช่ทีมระดับสูงสุด

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1992 ที่แต่เดิมให้ผู้แข่งขันอายุ 23 ปีเข้าแข่งขัน แต่ก็อนุญาตให้มีผู้เล่นที่อายุมากกว่า 23 ปี จำนวน 3 คนของแต่ละทีม ลงแข่งขันได้ ส่วนฟุตบอลหญิงในโอลิมปิก แข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1996 เป็นการแข่งขันทีมชาติเต็มทีม ไม่มีจำกัดอายุ

คอนเฟเดอเรชันส์คัพ เป็นการแข่งขันที่จัดขึ้นก่อน 1 ปีที่จะมีการแข่งขันฟุตบอลโลก ในประเทศเจ้าภาพที่จะแข่งขัน เหมือนเป็นการอุ่นเครื่องฟุตบอลโลกที่จะมาถึง เป็นการแข่งขันระหว่างผู้ชนะเลิศจากแต่ละภูมิภาคทั่วโลก (เอเชียนคัพ แอฟริกันคัพ โกลด์คัพ โกปาอาเมริกา เนชันส์คัพ และ ฟุตบอลยูโร) พร้อมทั้งทีมที่ชนะฟุตบอลโลกครั้งล่าสุดและทีมเจ้าภาพ

ฟีฟ่าจะจัดการแข่งขันฟุตบอลเยาวชนระดับนานาชาติ (ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกเยาวชนอายุไม่เกิน 17 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 20 ปี, ฟุตบอลโลกหญิงอายุไม่เกิน 17 ปี, การแข่งขันฟุตบอลระหว่างสโมสร (ฟีฟ่าคลับเวิลด์คัพ), และการแข่งขันฟุตบอลอื่นเช่น ฟุตซอล (ฟุตซอลชิงแชมป์โลก) และฟุตบอลชายหาด (ฟุตบอลชายหาดชิงแชมป์โลก)

การพัฒนารูปแบบการแข่งขันจากอดีตจนถึงปัจจุบัน

ในรอบของคัดเลือก ตั้งแต่การแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ 1934 ก็เริ่มมีการจัดการแข่งขันคัดเลือกเพื่อจำกัดทีมในรอบสุดท้ายให้น้อยลง จัดในเขตการแข่งขันทั้ง 6 เขตของฟีฟ่า (แอฟริกา, เอเชีย, อเมริกาเหนือและกลางและแคริบเบียน, อเมริกาใต้, โอเชียเนีย, และยุโรป)

ตรวจสอบโดยสมาพันธ์ที่เกี่ยวข้อง ในการแข่งขันในแต่ละครั้ง ฟีฟ่าจะกำหนดล่วงหน้าเรื่องจำนวน ว่าจะมีกี่ทีมในแต่ละเขตที่จะได้เข้าสู่รอบสุดท้าย โดยทั่วไปจะขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของทีมของสมาพันธ์

ซึ่งกระบวนการคัดเลือก จะเริ่มในเกือบ 3 ปีก่อนที่จะแข่งรอบสุดท้ายและจะสิ้นสุดในช่วง 2 ปีก่อนการแข่งขัน รูปของการแข่งขันรอบคัดเลือกจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสมาพันธ์ โดยปกติแล้ว ที่ 1 หรือ 2 อันดับแรกที่ชนะเพลย์ออฟระหว่างทวีป ตัวอย่างเช่น ผู้ชนะของเขตโอเชียเนีย และที่ 5 ของทีมในโซนเอเชีย

จะแข่งรอบเพลย์ออฟในฟุตบอลโลก 2010 และจากฟุตบอลโลก 1938 เป็นต้นมา ประเทศเจ้าภาพจะเข้าสู่รอบสุดท้ายโดยทันที และทีมแชมป์จะเข้ารอบสุดท้ายเพื่อป้องกันตำแหน่งในระหว่างปี 1938 และ 2002 แต่ในปี 2006 ได้งดไป ทีมบราซิลที่ชนะในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2002 เป็นทีมแรกที่แข่งขันรอบคัดเลือกเพื่อป้องกันตำแหน่ง

อันดับของแต่ละทีมในกลุ่ม พิจารณาจาก

  • จำนวนคะแนนในกลุ่ม
  • จำนวนความแตกต่างในการทำประตูในกลุ่ม
  • จำนวนการทำประตูในกลุ่ม

ถ้าหากยังอยู่ในระดับเท่ากัน จะพิจารณาเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

  • จำนวนคะแนนในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
  • จำนวนความแตกต่างในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน
  • จำนวนประตูในนัดที่ทีมเหล่านั้นเจอกัน

หากทีมยังอยู่ในระดับเท่ากันอีก หลังจากพิจารณาเกณฑ์ด้านบน จะใช้อันดับโลกฟีฟ่าในการพิจารณา

สถิติการแข่งขันประวัติฟุตบอลโลก ที่น่าจดจำ

  • บราซิล 5 สมัย (1958, 1962, 1970, 1994, 2002)
  • เยอรมนี4 สมัย (1954, 1974, 1990, 2014)
  • อิตาลี 4 สมัย (1934, 1938, 1982, 2006)
  • อุรุกวัย 2 สมัย (1930, 1950)
  • อาร์เจนตินา 2 สมัย (1978, 1986)
  • อังกฤษ 1 สมัย (1966)
  • ฝรั่งเศส 1 สมัย (1998)
  • สเปน 1 สมัย (2010)

จากสถิติการแข่งขันประวัติฟุตบอลโลก เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่ถูกนำเสนอ ยังมีการแข่งขันฟุตบอลโลกที่น่าสนใจให้ลองติดตาม และสนุกไปกับการแข่งขัน สนใจสมัครเล่น ไลน์แอด